122/75 หมู่ 5 ต.บางกร่าง,
เมืองนนทบุรี 11000

(02) 125 2242
info@aimsuccess.co.th

ข่าวสารน่ารู้

เวลาทำงานและวันหยุด

          สิทธิที่พนักงานหรือลูกจ้างควรให้ความสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ สิทธิเรื่องเวลาทำงานและวันหยุด เนื่องจากธุรกิจแต่ละประเภทกฎหมายได้มีการกำหนดมาตรฐานเวลาทำงานไว้แตกต่างกัน รวมถึงสิทธิวันหยุด   ที่พึงได้รับตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งสองส่วนนี้มีผลต่อการจ่ายค่าจ้าง โดยรายละเอียดความคุ้มครองมีดังนี้

1.  เวลาทำงาน

>> ไม่เกิน 8ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48ชั่วโมงต่อสัปดาห์

>> งานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่เกิน 7ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

 

2.  เวลาพัก

>> ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมงภายใน5ชั่วโมงแรกของการทำงาน

>> นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ1ชั่วโมง

>> กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

3.  วันหยุดประจำสัปดาห์

>> ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6วัน

>> ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมงหรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)

>> นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

>> งาน โรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมงงานดับเพลิง) งานอื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนดนายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน  4สัปดาห์ติดต่อกัน

>> กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน7วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด

4.  วันหยุดตามประเพณี

>> ต้อง ไม่น้อยกว่าปีละ 13วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป

>> ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

          เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญเรื่องวันทำงานและวันหยุดแล้ว ลูกจ้างอย่างเราควรให้ความสำคัญและรักษาสิทธิ์ของตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากนายจ้างได้